ความรู้และบริการ / ทันตกรรมเพื่อความงาม
ทันตกรรมเพื่อความงาม ย้อนกลับไปเมนูหน้าแรก

การอุดฟันแบบ Inlays และ Onlays

การอุดฟันแบบ inlays และ onlays นั้นมีความคล้ายคลึงกับการอุดฟันโดยทั่วไป แต่เนื้อที่ที่จำเป็นต้องได้รับการอุดมีขนาดใหญ่มากซึ่งไม่เหมาะสมกับวิธีการธรรมดา ดังนั้นทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้ใช้วิธีการอุดแบบ inlays หรือ onlays โดยการอุดฟันแบบ inlays เป็นการอุดฟันด้านในของบริเวณฟันด้านนั้น ในขณะที่การทำ onlays จะมีวิธีการคล้ายคลึงกับการทำ inlays เพียงแต่จะมีพื้นที่ในการอุดมากกว่า inlays โดยจะครอบคลุมหลายด้านและมุมของฟัน


คุณประโยชน์ของการบูรณะฟันด้วย Inlays และ Onlays

  • เพิ่่มความแข็งแรงให้แก่ฟันและมีความทนทานมากกว่าการอุดฟันแบบธรรมดา
  • เป็นอีกทางเลือกแทนการครอบฟันในกรณีที่ฟันมีปัญหาไม่มากนัก
  • วัสดุเซรามิกที่ใช้ในการทำ inlays และ onlays จะไม่มีการเปลี่ยนสีเนื่องจากอายุการใช้งานหรือคราบอาหาร
  • ให้ความสวยงามและดูเป็นธรรมชาติกว่าการอุดฟันด้วยอมัลกัม

 

ประเภทของ Inlays และ Onlays

Inlays และ onlays สามารถทำได้จากวัสดุต่างๆ เช่น เซรามิก ทอง และเรซิน โดย Inlays และ Onlays ที่ทำจากเซรามิกจะให้ความใสและสวยงามเป็นธรรมชาติ ขณะที่การทำด้วยทองจะมีความแข็งแรงและทนทานสูง

ที่บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์ เราเลือกใช้วัสดุ IPS Empress Esthetics จากIvoclar Vivadent และ Procera Nobel Esthetics จากบริษัท Nobel Biocare ในการทำ Inlays และ Onlaysแบบเซรามิกล้วน

การรักษาด้วยการทำ Inlays และ Onlays

ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำ Inlays และ Onlays

  1. ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและการเตรียมฟัน
    • การฉีดยาชาบริเวณฟันซี่ที่จะรักษา
    • การกรอฟันให้มีรูปร่างที่เหมาะสม
    • การจดบันทึก สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการ
    • การพิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลอง
    • แบบจำลองและรายละเอียดทั้งหมดจะถูกส่งไปยังห้องแลบเพื่อทำ Inlays หรือ Onlays
    • ทันตแพทย์จะทำการอุดฟันแบบชั่วคราวให้แก่ผู้ป่วยสำหรับใช้งาน
  2. ขั้นตอนการติด Inlays หรือ Onlays
    • การรื้อวัสดุอุดแบบชั่วคราวออก
    • การติดยึด Inlays หรือ Onlays บนฟัน การตรวจเช็คและการปรับแต่งให้มีความเหมาะสมที่สุด
  3. ขั้นตอนการดูแลรักษา

การทำ Inlays หรือ Onlays นั้นมีความคล้ายคลึงกับการอุดฟันโดยทั่วไป เพียงแต่วัสดุที่ใช้ในการทำ Inlays และ Onlays นั้นจะมีความแข็งแรงและทนทานมากกว่าวัสดุที่ใช้ในการอุดฟันและการรักษาด้วยวิธีนี้จะก่อให้เกิดอาการเสียวฟันได้น้อยมาก

การดูแลรักษาหลังการทำ Inlays และ Onlays

  • ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
  • ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 - 2 ครั้ง
  • ควรทำการบ้วนปากด้วยน้ำยาผสมฟลูออไรด์ก่อนนอนทุกวัน โดยทำกลั้วน้ำยาและอมไว้ในปากอย่างน้อย 1 นาที และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังการบ้วนปาก
  • ควรให้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งบริเวณที่ได้รับการรักษา
  • ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน

 

 
 

การเคลือบผิวฟัน

การเคลือบผิวฟันด้วยวัสดุเซรามิกสีเหมือนฟัน หรือที่เรียกกันว่า “ วีเนียร์ ” นั้น เป็นการติดแผ่นเซรามิกที่มีความบางและใสบริเวณผิวด้านหน้าของฟันเพื่อแก้ไขปัญหาความผิดปกติของฟัน เช่นแก้ไขปัญหาฟันสีเทาที่เกิดจากสารเตตร้าไซคลีน ฟันที่ถูกทำลายเช่นฟันที่ผุด้านหน้า ฟันกร่อน ฟันสึก หรือแตกหัก เป็นต้น ให้มีสีและขนาดที่สวยงาม รวมทั้งเพิ่มความแข็งแรงและทนทานให้แก่ผิวฟันอีกด้วย ทั้งนี้คราบสีต่างๆ เช่นคราบอาหาร คราบบุหรี่ ชา และกาแฟ จะไม่สามารถติดบนวัสดุเซรามิกที่ใช้ในการเคลือบผิวฟันได้ ดังนั้นผู้เข้ารับบริการจึงไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องการติดคราบดังกล่าว

คุณประโยชน์ของการเคลือบผิวฟันมีดังนี้

  • มีความทนทานและยากต่อการติดคราบสีที่เกิดจากเครื่องดื่ม อาหาร และบุหรี่
  • ไม่สามารถผุได้เหมือนฟันธรรมชาติ
  • ช่วยเพิ่มความมั่นใจและความสวยงามแก่ฟันและรอยยิ้มของผู้เข้ารับบริการ
  • วัสดุที่ใช้มีลักษณะและความใสเหมือนฟันตามธรรมชาติ
  • สามารถช่วยปิดช่องว่างระหว่างฟันในกรณีฟันห่าง
  • สามารถช่วยปรับแต่งรูปร่างของฟันให้มีความสวยงามขึ้น
  • ช่วยซ่อมแซมและปกป้องฟันที่สึกกร่อนและถูกทำลาย
  • สามารถปกปิดสีฟันที่ผิดปกติหรือไม่สวยได้





ประเภทของวัสดุที่ใช้ในการเคลือบผิวฟัน

ที่ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์ เราเลือกใช้วัสดุที่ได้รับการพัฒนาใหม่ล่าสุด IPS Empress II System และ IPS Empress Esthetics จาก Ivoclar Vivadent ในการเคลือบผิวฟัน (veneers) และเลือกใช้ The opalescent IPS Empress II ซึ่งได้รับการพัฒนาด้านคุณภาพและความสวยงามด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดให้เป็นวัสดุพิเศษที่มีความใสเงางามช่วยในการเลียนแบบลักษณะและสีของเนื้อฟันแต่ละชั้น เพื่อให้ได้ veneer ที่มีลักษณะและความสวยงามเหมือนฟันตามธรรมชาติมากที่สุด


ขั้นตอนการรักษาด้วยการเคลือบผิวฟัน

  1. ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและการเตรียมฟัน
    • การฉีดยาชาบริเวณฟันซี่ที่จะกรอเพื่อการเคลือบผิวฟัน
    • การกรอแต่งฟันเพื่อการเคลือบผิวฟัน
    • การจดบันทึก สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการในการเคลือบผิวฟัน
    • การพิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลอง
    • แบบจำลองและรายละเอียดทั้งหมดจะถูกส่งไปยังห้องแลบเพื่อการประดิษฐ์เซรามิกวีเนียร์
    • ทันตแพทย์จะทำการติดวีเนียร์แบบชั่วคราวให้แก่ผู้ป่วยสำหรับใช้งานระหว่างการรอ
  2. ขั้นตอนการติดเซรามิกวีเนียร์
    • การรื้อวีเนียร์แบบชั่วคราวออก
    • การติดยึดเซรามิกวีเนียร์แบบถาวรบนผิวฟัน การตรวจเช็คและการปรับแต่งให้มีความเหมาะสมที่สุด
  3. ขั้นตอนการดูแลรักษา
    • ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำด้านการดูแลทำความสะอาดเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน




     


ข้อปฏิบัติหลังการเข้ารับการเคลือบผิวฟันด้วยเซรามิกวีเนียร์

  1. หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งภายใน 24 ชั่วโมงหลังการติดยึดวัสดุเคลือบผิวฟัน (วีเนียร์)
  2. สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดการบวมหรืออาการต่างๆได้โดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ ( เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
  3. ควรดูแลความสะอาดบริเวณที่ติดวัสดุเคลือบผิวฟันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดโรคเหงือก
  4. อาการเสียวฟันอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางท่าน โดยอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่นาน ซึ่งถ้าเกิดอาการเสียวฟันผู้ป่วยควรปฏิบัติตนดังนี้
    • หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารที่ร้อน เย็นหรือมีความเป็นกรดสูง เช่นน้ำมะนาวเป็นต้น
    • การรับประทานยาแก้ปวดสามารถช่วยลดอาการเสียวฟันได้ระดับหนึ่ง
    • ควรเลือกใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีสารฟลูออไรด์สูงซึ่งสามารถช่วยปัญหาการเสียวฟันได้
    • ควรทำความสะอาดอย่างถูกวิธี

 

วิธีการดูแลรักษาหลังเข้ารับการเคลือบผิวฟัน

  • ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะบริเวณขอบเหงือกฟันซี่ที่ได้รับการเคลือบผิวฟันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาโรคเหงือก และการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
  • ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 - 2 ครั้ง
  • ควรทำการบ้วนปากด้วยน้ำยาผสมฟลูออไรด์ก่อนนอนทุกวัน โดยทำกลั้วน้ำยาและอมไว้ในปากอย่างน้อย 1 นาที และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังการบ้วนปาก
  • ควรให้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งบริเวณฟันที่ได้รับการเคลือบผิวฟัน
  • ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน




การตกแต่งและบูรณะฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน

 การตกแต่งและบูรณะฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน เป็นการนำวัสดุเรซินที่สามารถเลือกสีให้เหมือนกับฟันของผู้เข้ารับบริการนั้นๆ มาประยุกต์ใช้ในงานทันตกรรมเพื่อความสวยงาม ซึ่งเป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายไม่มาก

การตกแต่งและบูรณะฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน

  • สามารถนำมาใช้ในการซ่อมแซมฟันที่ผุ
  • สามารถนำมาใช้ในการซ่อมแซมฟันที่บิ่นหักเล็กน้อย
  • สามารถใช้ในการแก้ไขปัญหาสีของฟันที่ไม่สวยงาม
  • สามารถใช้ในการปิดช่องว่างระหว่างฟัน
  • สามารถช่วยในการเพิ่มความยาวของฟัน
  • สามารถช่วยในการแก้ไขปัญหาเรื่องสีและรูปร่างของฟัน
  • ช่วงอำพรางหรือลดความชัดเจนของคราบสีบนฟัน
  • สามารถใช้ในการแก้ปัญหาฟันล้มได้ระดับหนึ่ง
  • เป็นอีกทางเลือกหนึงในการอุดฟันนอกจาการใช้วัสดุอมัลกัม
  • สามารถใช้ในการอุดปิดคอฟันและปกป้องผิวของรากฟันที่โผล่ออกมานอกเหงือกซึ่งมักเกิดจากปัญหาเหงือกร่น

ขั้นตอนการบูรณะฟันด้วยวัสดุเรซิน

  1. ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและการเตรียมฟัน
    • ทันตแพทย์จะทำตรวจวินิจฉัยแล้วจึงทำการเทียบสีฟันเพื่อที่จะสามารถเลือกใช้สีของวัสดุที่ใกล้เคียงกับสีฟันของผู้ป่วยมากที่สุด
    • การขัดและกรอผิวฟันให้มีความหยาบเพื่อให้การติดยึดของวัสดุมีความทนทานมากที่สุด
  2. ขั้นตอนการใช้วัสดุเรซิน
    • การติดวัสดุเรซิน และแต่งรูปให้มีความเหมาะสมกับฟัน
    • การฉายแสงเพื่อให้วัสดุแข็งตัว
    • การกรอแต่งรูปร่างและการขัดวัสดุให้มีความสวยเงางาม

การบูรณะและตกแต่งฟันด้วยการใช้วัสดุเรซิน เช่นการอุดปิดช่องว่างระหว่างฟัน นั้น แทบจะไม่มีการกรอเนื้อฟันออกเลย ดังนั้นวิธีการนี้จึงไม่ก่อให้เกิดการเสียวฟันหรืออาจเกิดขึ้นได้น้อยมาก

 

วิธีการดูแลรักษา

  • ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
  • ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 - 2 ครั้ง
  • ควรทำการบ้วนปากด้วยน้ำยาผสมฟลูออไรด์ก่อนนอนทุกวัน โดยทำกลั้วน้ำยาและอมไว้ในปากอย่างน้อย 1 นาที และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังการบ้วนปาก
  • ควรให้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งบริเวณที่ได้รับการบูรณะตกแต่งฟัน
  • ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน